วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ส.ค.ส ส่งความสุข Happy New Year 2010!

วันนี้พี่มีเรื่องเกี่ยวกับการ์ดอวยพรมาเล่าให้ฟังกันจ้า อ้ะๆ อย่านึกว่าเป็นเรื่องธรรมด๊าธรรมดานะคะ รับรองว่ามีเกร็ดความรู้น่าสนใจจนน้องๆ ต้องแปลกใจแน่ค่ะ อิอิ
น้องๆ เคยมานั่งคิดมั้ยคะว่าการ์ดอวยพร (greeting card) มีกี่ประเภท นั่นแน่ แล้วอย่าลืมนะคะว่าการ์ดของไทยเรามีชื่อกิ๊บเก๋มากว่า ส.ค.ส. ย่อมาจาก “ส่งความสุข” พูดถึงการ์ดแล้วคงจะคิดถึงกระดาษแผ่นพอเหมาะ มีรูปสวยๆ น่ารักๆ เขียนคำอวยพรดีๆ ไว้ให้แก่กันใช่มั้ยคะ เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีก็ล้ำหน้าไปไกล เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าการ์ดอวยพรมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง



เริ่มตั้งแต่สมัยแรกๆ เลยนะคะ การ์ดอวยพรสมัยแรกเริ่มมักจะทำจากกระดาษชั้นดี วาดรูปตกแต่งเองบ้าง แล้วก็ประดิดประดอยตกแต่งสวยงามที่ด้านหน้า ส่วนด้านในก็เว้นว่างไว้ให้เขียนคำอวยพรเริ่ดๆ แล้วก็จะมีซอง (envelope) สีเข้าคู่กันด้วยค่ะ

อีกแบบนึงก็คือเราเอารูปถ่ายนี่แหละค่ะ มาทำเป็นการ์ดอวยพร ประหยัดเวลา (save time) วาดรูปไป อิอิ ใช้รูปถ่ายมาตกแต่งแทนค่ะ นอกจากนั้นแล้วน้องๆ คงจะเห็นการ์ดสำเร็จรูปที่ขายตามร้านทั่วไปใช่มั้ยเอ่ย มีลวดลาย (design, pattern) มากมายให้เลือกกันทีเดียว แถมการ์ดบางอันเปิดมาก็จะมีเพลงบรรเลงด้วย น่ารักกุ๊กกิ๊กที่สุดเลยเนอะ



คนรุ่นใหม่สมัยโลกาภิวัตน์อย่างเราก็ส่ง e-card (electronic card) กันให้ทันยุคทันสมัย แถมคงคอนเซปประหยัดกระดาษ ช่วยโลกร้อนได้อีกทางด้วยนะคะ e-card ก็เล่นลูกเล่นได้เยอะทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว คิดคำอวยพรเองได้ หรือจะเอากลอน (poem, verse) ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเท่ๆ มาส่งความสุขให้กันและกันได้มากมาย

ปีใหม่นี้น้องๆ ส่ง e-card ให้คนที่รักกันบ้างรึเปล่าเอ่ย พี่ว่าการส่งการ์ดให้กันเนี่ยมันทำให้เรารู้สึกอบอุ่นท่ามกลางอากาศหนาวๆ แบบนี้นะคะ (แหม่ พูดได้โรแมนติกมาก อิอิ) ถึง e-card จะมีข้อดี (good point, advantage, benefit, pro) คือประหยัดกระดาษ แต่พี่ว่ามันก็สู้การ์ดอวยพรที่จับต้องได้ (touchable) หรอกเนอะ แถมเราได้เห็นลายมือ (handwriting) ของคนที่ส่งมาด้วยล่ะ มันรู้สึกปลื้มใจดี น้องๆ ว่างั้นมั้ยเอ่ย

สุดท้ายนี้พี่ก็ขออวยพรน้องๆ ที่รักด้วยกลอนภาษาอังกฤษสั้นๆ นะคะ ขอให้ปีใหม่นี้ทุกคนโชคดีมีชัยค่ะ ^^

 May God's angels in Heaven
Watch over and guide you
Showing you the right way
In everything you do 

May you find joy and happiness
All around you
And may you be blessed
In all that you do

We want the best for you
This coming new year
These things we wish for you
Because we hold you dear

Happy New Year!


สิงโตจีน - Chinese Guardian Lions

เมื่อวันหยุดเราได้มีโอกาสไปทำบุญ (make merits, do good deeds) ที่วัดจีนแห่งหนึ่งค่ะ แล้วสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ (uniqueness, distinctiveness) ของวัดจีนก็คือสิงโตคู่ที่ยืนอยู่หน้าศาลเจ้าหรือไม่ก็โบสถ์ประจำวัดนี่เองจ้า

น้องๆ เคยสังเกตกันมั้ยเอ่ย สิงโตสองตัวนี้นิยมวางตั้งกันเป็นคู่ (couple, pair) นะคะ ตามความเชื่อ (belief, conviction) ของคนจีนค่ะ ตัวผู้จะวางอยู่ด้านซ้ายมือของทางเข้าและตัวเมียจะตั้งอยู่ทางขวามือค่ะ

นั่นแน่ มีวิธีการแยก (separate, distinct) สิงโตตัวผู้ (lion) และสิงโตตัวเมีย (lioness) ง่ายๆ นะคะ นั่นคือเราต้องมองที่เท้าของมันค่ะ ตัวไหนเหยียบบอล ทำท่าเหมือนเล่นกับบอลอยู่ นั่นแปลว่าเป็นตัวผู้ค่ะ แต่ถ้าตัวไหนเหยียบลูกสิงโต (lion cub) ตัวเล็กๆ ทำท่ากำลังเล่นกับลูกอยู่ ตัวนั้นก็คือตัวเมียนั่นเองค่า

สิงโตจีนจะมาเป็นคู่เสมอนะคะ แล้วยังมีความหมายที่สำคัญอีกด้วย ลูกบอลของสิงโตนั้นแสดงถึงโครงสร้างของครอบครัวค่ะ ส่วนลูกสิงโตที่อยู่กับตัวเมียนั้นก็เป็นสัญลักษณ์สื่อว่าตัวเมียทำหน้าที่ ปกป้อง (protect) ครอบครัวที่อยู่ภายในถ้ำ ส่วนตัวผู้ก็ป้องกัน (prevent) ภัยที่อาจจะมาจากภายนอกค่ะ เมื่อรวมกันแล้วก็สื่อถึงวัฏจักรของชีวิต (cycle of life) นั่นเองค่ะ บางที่ก็ว่าปากของตัวผู้จะเปิด เพื่อหายใจเข้า (inhale) สื่อถึงความมีชีวิต ส่วนปากของตัวเมียจะปิด เพื่อหายใจออก (exhale) สื่อถึงความตายค่ะ

แต่เป็นที่น่าแปลก (surprisingly, interestingly) นะคะว่าในตำนานจีนไม่มีเรื่องเกี่ยวกับสิงโตเลยค่ะ สืบกันไปสืบกันมาไปพบว่าสิงโตของจีนนั้นมีที่มาจากอินเดียค่ะ ในสมัยที่พระพุทธศาสนา (Buddism) เผยแพร่มาสู่ประเทศจีนนั่นเอง ช่วงแรกๆ นั้นก็มีการปั้นรูปสิงโตตามลักษณะของสุนัขพื้นเมืองค่ะ เพราะว่าคนจีนไม่เคยเห็นสิงโตตัวเป็นๆ มาก่อน

เป็นไงบ้าง คะกับเรื่องราวการผสมผสานวัฒนธรรมและสัจธรรมของชีวิต ถ้าน้องๆ สังเกตของรอบตัว อาจจะพบเจออะไรน่าสนใจแบบนี้อีกก็ได้นะคะ ต้องหมั่นสังเกตและเรียนรู้ค่ะ ^^



Llama - ลามะ

ตัวอะไรหนอ?
 ไงคะน้องๆ ไม่รู้ว่าน้องคุ้นเคยกับชื่อหัวข้อวันนี้หรือเคยได้ยินกันรึเปล่านะ บังเอิญว่าพี่ได้เห็นเจ้าตัวนี้จากสารคดี (documentary) ทางทีวีเมื่อวันก่อนค่ะ เห็นว่าเจ้าตัวนี้ช่างน่ารักน่าชังจริงๆ เลยค่ะ

 เจ้าตัวลามะนี้เป็นสัตว์อยู่ในตระกูลเดียวกับอูฐ (camel, camelid) ค่ะ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ (North America) แต่ได้อพยพ (migrate) ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ทวีปอเมริกาใต้ (South America) แทนนะคะ ดูรูปร่างหน้าตาแล้วเหมือนแกะ (lamb, sheep) คอยาวเลยนะคะ ขนปุยๆ (fluffy) ไม่เคยจับของจริงเหมือนกันค่ะ แต่ท่าทางขนจะหนา (thick) น่าดูเลย

อีกตัวที่เชื้อสาย (species) ใกล้เคียงเจ้าลามะนี่เราเรียกว่าอัลปาก้า (alpaca) ชื่อเหมือนมนุษย์ต่างดาว (alien) เลยนะคะ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งค่ะ ข้อแตกต่างที่เห็นชัดก็คือเจ้าอัลปาก้านี้จะตัวเล็กกว่าลามะเล็กน้อยค่ะ ซึ่งขนของมันสามารถนำไปทำผ้าห่ม (blanket) เสื้อกันหนาว (sweater) หมวก (hat) ถุงมือ (glove) และผ้าพันคอ (scarves) ซึ่งให้ความอบอุ่นได้มากเลยค่ะ


 ทั้งลามะและอัลปาก้าอาจจะดูแปลกตาสำหรับเรา แต่ในทวีปอเมริกาใต้แล้ว เกษตรกร (farmer) นิยมทำปศุสัตว์ (livestock, cattle) จากเจ้าสองตัวนี้เพื่อนำขน (fur) ของมันมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายเลยค่ะ แต่เพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อน (tropical country) เลยนิยมเลี้ยงสัตว์อย่างวัว หรือไก่ เพื่อนำนมและไข่ของมันมาบริโภค (consume) กันมากกว่าทำเสื้อผ้า (clothes, costume) นะคะ เพราะอยู่ประเทศไทย เรามีโอกาสใส่เสื้อผ้าขนสัตว์ (wool) กันน้อยจริงๆ เจ้าตัวพวกนี้ถ้ามาอยู่เมืองไทยคงอยู่ไม่ไหว ต้องร้อนตับแตกกันแน่ๆ เลยนะคะ



Month - Moon

 วันนี้จะมาเล่าถึงคำที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี่แหละค่ะ เป็นคำศัพท์ง่ายๆ ที่น้องๆ รู้กันอยู่แล้วแน่เลย นั่นคือคำว่า Month ที่แปลว่าเดือนนั่นเองจ้า
บอกแล้วจะแปลกใจ (surprised, astonished, stunned) รู้มั้ยคะว่ารากศัพท์ของคำนี้มาจากคำว่าอะไรเอ่ย? มาจากคำว่า พระจันทร์ (Moon) ค่ะ!
ถ้าน้องๆ ลองไปดูปฏิทิน (calendar) ที่มีรายละเอียด (detail) เยอะหน่อย จะเห็นได้ว่าปฏิทินบางอันจะเขียนข้างขึ้น (period of the waxing moon) และข้างแรม (period of the waning moon) ไว้ด้วยใช่มั้ยจ๊ะ นี่ล่ะจ้า ที่มาของการกำหนดเดือนของมนุษย์เรา


 ในสมัยแรกเริ่มมนุษย์เราก็ยึดรอบของดวงจันทร์ (lunar phase) นี่แหละจ้ะเป็นการกำหนดเดือนนะ เวลาที่ดวงจันทร์ใช้หมุนรอบโลกโดยเฉลี่ย (in average) ก็คือ 29.53 วันจ้ะ แต่เมื่อหลังจากมีการคิดใช้ปฏิทินขึ้นมาแล้ว เราจึงยึดวันตามวันที่กำหนดไว้อย่างเป็นระบบ (scientifically, systematically) แต่การใช้วันข้างขึ้นข้างแรมก็ยังมีปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในวันสำคัญทางศาสนา (religion day, holy day) อย่างเช่นว่า เราก็ยังเรียกว่าวันวิสาขบูชาเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 กันอยู่ใช่มั้ยจ้ะ น้องๆ ^^

เราวกกลับมาพูดถึงรอบการหมุนของดวงจันทร์กันอีกหน่อยนะจ้ะ เวลาที่ดวงจันทร์โคจร (orbit) รอบโลก เราๆ ที่อยู่บนพื้นโลกก็จะเห็นเงาของดวงจันทร์ที่สะท้อน (reflect) กับแสงจากดวงอาทิตย์ ทำให้เราเห็นว่าดวงจันทร์ส่องแสง (illuminate, shine, lighten) ได้ในเวลากลางคืนนั่นแหละจ้า ซึ่งเมื่อดวงจันทร์หมุนไปก็จะทำมุม (angle) กับดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน เราเลยเห็นพระจันทร์เป็นเสี้ยวบ้าง เต็มดวงบ้าง ตามรอบการหมุนในแต่ละครั้งยังไงล่ะจ้ะ นับแบบไทยๆ ขึ้น 15 ค่ำก็คือพระจันทร์เต็มดวง (full moon) ส่วนแรม 15 ค่ำ ก็คือเป็นคืนเดือนมืด พระจันทร์ไม่ส่องแสง (new moon) นั่นเองจ้า